Home » พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554  

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554  

by admin
อบรมลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ 6 ชั่วโมงคืออะไร

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554  มีเจตนารมณ์ เพื่อให้ความคุ้มครองด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้แก่ลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ซึ่งมีการนำเทคโนโลยี เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ สารเคมี และสารเคมีอันตรายมาใช้ในกระบวนการผลิต การก่อสร้าง และบริการ จึงได้กำหนดมาตรการควบคุม กำกับ ดูแล และการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับการป้องกันและสงวนรักษาทรัพยากรบุคคลอันเป็นกำลังสำคัญของชาติไว้ โดยในมาตรา 16 กำหนดว่า

         “ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อย่างปลอดภัย ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทํางาน การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด”

        ซึ่งมีเจตนารมณ์ เพื่อให้ลูกจ้างทุกคนในสถานประกอบกิจการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมดังกล่าว ให้เป็นไปตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างานและลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการ หลักสูตร และคุณสมบัติวิทยากร ไว้ดังนี้

หลักเกณฑ์การฝึกอบรม

  • ลูกจ้างทุกคนที่ต้องได้รับการฝึกอบรมตามประกาศฉบับนี้ ประกอบด้วยลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนในสถานประกอบกิจการ โดยให้หมายความรวมไปถึงในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งรับเข้ามาทํางานใหม่ ลูกจ้างที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เปลี่ยนลักษณะการทำงาน เปลี่ยนหน้าที่  เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือกรณีที่นายจ้างมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์การทำงาน ซึ่งทำให้มีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม ที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
  • การดำเนินการฝึกอบรมลูกจ้างดังกล่าว ต้องจัดให้มีและดำเนินการแล้วเสร็จก่อนที่ลูกจ้าง  แต่ละรายจะเริ่มทํางาน เช่น บริษัทฯ รับลูกจ้างเข้ามาทำงานใหม่ในแผนกซ่อมบำรุง ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ดังนั้น ก่อนที่จะส่งลูกจ้างไปทำงานในแผนกซ่อมบำรุง ต้องจัดให้ลูกจ้างผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรที่กำหนดไว้  ตามประกาศฉบับนี้ให้แล้วเสร็จก่อนที่ลูกจ้างจะไปเริ่มทำงานในแผนกซ่อมบำรุง หรือภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ กล่าวคือ ประกาศนี้ลงประกาศในราชกิจจานุเษกษา เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ มีผลใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการในวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ดังนั้นภายในระยะเวลา 60 วัน คือ ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 (กรณีนี้ สำหรับระยะแรกของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เท่านั้น)
  • ลูกจ้างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องอบรมตามประกาศฉบับนี้ คือ

       (1)  ลูกจ้างระดับบริหาร ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร หรือลูกจ้างระดับหัวหน้างานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ก่อนหรือหลัง วันที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 มีผลใช้บังคับ และผ่านการฝึกอบรมก่อนประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555 มีผลใช้บังคับ คือ ก่อนวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ให้ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นผ่านการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน สําหรับลูกจ้างระดับบริหาร และหัวหน้างาน ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 แล้ว

       (2)  ลูกจ้างที่ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานของสถานประกอบกิจการ ตามข้อ 3 ของกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 ก่อนวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ให้ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นผ่านการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน สําหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทํางานใหม่ตามประกาศฉบับนี้ เช่นกัน

  • ผู้ที่สามารถดำเนินการฝึกอบรมลูกจ้างตามประกาศฉบับนี้ คือ นายจ้างสามารถจัดการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการของตนเองได้ โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรและต้องใช้วิทยากรที่มีคุณสมบัติตามที่ประกาศฉบับนี้กำหนด หรือจะให้สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน หรือหน่วยงานให้บริการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกําหนดหรือยอมรับ
  • ผู้จัดการฝึกอบรม ต้องดําเนินการตามหลักเกณฑ์ดังนี้

(1) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

(2) จัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินหกสิบคน

(3) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม

(4) ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม

(5) กรณีนายจ้างดำเนินการฝึกอบรมเอง ต้องเก็บหลักฐานการฝึกอบรม เช่น ทะเบียนรายชื่อลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม วัน เวลา และสถานที่อบรม พร้อมลายมือชื่อของวิทยากรผู้ทําการอบรมไว้ในสถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ที่ลูกจ้างทํางาน พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ด้วย

หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ตามมาตรา 16 มีทั้งหมด 4 หลักสูตร

หลักสูตร

ระยะเวลาฝึกอบรม

 1. หลักสูตรสําหรับลูกจ้างระดับบริหาร

12 ชั่วโมง

 2. หลักสูตรสําหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน

12 ชั่วโมง

 3. หลักสูตรสําหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทํางานใหม่

6 ชั่วโมง

 4. หลักสูตรสําหรับลูกจ้างเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางานหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์

3 ชั่วโมง

 

ใครที่สนใจอบรมหลักสูตรลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ 6 ชม สามารถติดต่อสอบถามได้ทางเบอร์ติดต่อหรือทางไลน์ เราพร้อมจัดฝึกอบรมให้กับคุณพร้อมมอบส่วนลดพิเศษ และ ใบเซอร์หลังจบการอบรม

โลโก้หลัก

บริษัท เซฟตี้เมมเบอร์ จำกัด

ใบรับรองหน่วยฝึกอบรม

Copyright @2024 อบรมเซฟตี้ Developed website and SEO by iPLANDIT